พระสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 99 พระชันษา เนื้อผง ปี 55 | AllOnline
ช้อป All Online ผ่าน 7App
โปรเด็ด สินค้าโดนใจ ห้างใกล้บ้าน
โหลดฟรี
Flash M-Stamp

พระสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 99 พระชันษา เนื้อผง ปี 55


รหัสสินค้า  457095010
false
false
false
false
true
true

พระสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 99 พระชันษา เนื้อผง ปี 55

รหัสสินค้า 457095010

คุ้มกว่า

รับ ALL POINT ทุกการช้อป

  • โชคลาภ ค้าขาย เมตตา แคล้วคลาด ปลอดภัย เสริมสิริมงคล อยู่เย็นเป็นสุข
  • ชนวนมวลสารพระเกจิคณาจารย์ มวลสารเก่า แผ่นจารย์อักขระยันต์พระเกจิ
  • สร้างห้องสมุดและสถานปฏิบัติธรรมรัตนธรรมสถาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เลขที่ ๙๑ บ้านห้วยโจด ต. หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย
  • สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ และพระเกจิคณาจารย์หลายรูป
฿ 199

ใช้ได้ตั้งแต่  13/07/2021 - 23/11/2024
รวมยอดของ
- +
มีสินค้าในสต๊อก
สินค้านี้จำกัดจำนวนในการสั่งซื้อ

การจัดส่ง

จัดส่งฟรีเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน
ฟรี
จัดส่งตามที่อยู่ รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน

สินค้าใกล้เคียง

ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ (ก x ย x ส) 2.5 x 3.7 x 0.7 ซม.
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ 0.01

พระสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 99 พระชันษา เนื้อผง ปี 55

พระเกจิ : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ และพระเกจิคณาจารย์หลายรูป

ชื่อวัด : นำออกให้เช่าบูชาโดย พระครูสท้าน วรรณพิมพ์ วัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธคุณ : โชคลาภ ค้าขาย เมตตา แคล้วคลาด ปลอดภัย เสริมสิริมงคล อยู่เย็นเป็นสุข

เนื้อวัตถุมงคล : ผง

ขนาดวัตถุมงคล : 2.5 x 3.7 x 0.7 ซม.

น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.01 กก.

 

รายละเอียดโครงการวัตถุมงคล

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร พระนามเดิม เจริญ ฉายา สุวฑฺฒโน (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) 

เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร 

ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 

ถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี 

สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต 

การศึกษาพระปริยัติธรรม พระองค์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์ 

ที่ตั้งใจจะให้พระองค์กลับมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ 

โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 

แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอน 

หลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร[6] พระองค์ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้เมื่อ พ.ศ. 2472 

และทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 3 ประโยค ในปี พ.ศ. 2473[7] พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างมากในการสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค 

แต่ผลปรากฏว่าทรงสอบตก ทำให้ทรงรู้สึกท้อแท้และคิดว่า "คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว" แต่เมื่อทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมจึงสอบตก 

ก็ทรงตระหนักได้ว่าเหตุแห่งการสอบตกนั้นเกิดจากความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ ทรงทำข้อสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว 

ทั้งยังมุ่งอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงพบว่าเป็นวิธีการเรียนที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์สอบตก 

เมื่อพระองค์ทรงตระหนักได้ดังนี้แล้วจึงทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง พระองค์จึงสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2475[7] 

หลังจากนั้น พระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆาราม เพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา 1 พรรษา 

แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป โดยทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค โดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น 

พระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในปี พ.ศ. 2484

 

พิธีพุทธาพิเษก

พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

วัดบวรนิเวศวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์เป็นพระประธาน คือ พระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต) ที่อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และพระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศที่สยามมกุฎราชกุมาร

 

วัดบวร5

 

ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หุ้มกระเบื้องสีทอง รอบฐานพระเจดีย์มีศาลาจีนและซุ้มจีน ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง บริเวณรอบเจดีย์มีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง คือ พระไพรีพินาศ


ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร โดยเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธนาราวันตบพิตร

 

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

สร้างห้องสมุดและสถานปฏิบัติธรรมรัตนธรรมสถาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เลขที่ ๙๑ บ้านห้วยโจด ต. หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 

 

ดำเนินการจัดสร้างโดย

นำออกให้เช่าบูชาโดย พระครูสท้าน วรรณพิมพ์ วัดบวรนิเวศวิหาร

 

หมายเหตุ

1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน

2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น

3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้

ความเห็นของลูกค้า (จากทั้งหมด 0 คน)
ภาพรวมความพึงพอใจ
0
0
0
0
0
ความเห็นของลูกค้าเฉลี่ย
ยอดรวม  ยังไม่มีการประเมิน