หลวงพ่อบ้านแหลม เนื้อทองเหลืองขัดเงา สูง 13 นิ้ว | AllOnline
ช้อป All Online ผ่าน 7App
โปรเด็ด สินค้าโดนใจ ห้างใกล้บ้าน
โหลดฟรี
Flash M-Stamp

หลวงพ่อบ้านแหลม เนื้อทองเหลืองขัดเงา สูง 13 นิ้ว


รหัสสินค้า  622434010
false
false
false
false
true
true

หลวงพ่อบ้านแหลม เนื้อทองเหลืองขัดเงา สูง 13 นิ้ว

รหัสสินค้า 622434010

คุ้มกว่า

รับ ALL POINT ทุกการช้อป

  • บูชาเสริมสิริมงคล สวดมนต์ขอพรให้สำเร็จสมหวังในเรื่องต่างๆ และขอพรให้หายจากโรคภัย (เป็นความเชื่อส่วนบุคคลตั้งแต่โบราณกาลโปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล)
  • แผ่นจาร จากพระเกจิคณาจารย์ ที่วัดเก็บไว้ และได้ไปให้พระเกจิอาจารย์ได้จาร เพื่รวบรวมทำเป็นมวลสารในการสร้างวัตถุมงคลของวัดเพชรสมุทรวรวิหาร
  • ร่วมสมทบทุนบำรุงเสนาสนะ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.เพชรบุรี
  • พระเกจิคณาจารย์ชื่อดังหลายรูปร่วมอธิษฐานจิต วัตถุมงคลหลวงพ่อบ้านแหลม วัดพเพชรสมุทรวรวิหาร
฿ 2,599

ใช้ได้ตั้งแต่  15/08/2023 - 23/11/2024
รวมยอดของ
- +
มีสินค้าในสต๊อก
สินค้านี้จำกัดจำนวนในการสั่งซื้อ

การจัดส่ง

จัดส่งฟรีเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน
ฟรี
จัดส่งตามที่อยู่ รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน

สินค้าใกล้เคียง

ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ (ก x ย x ส) 10 x 10 x 40 ซม.
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ 1

หลวงพ่อบ้านแหลม เนื้อทองเหลืองขัดเงา สูง 13 นิ้ว

พระเกจิ : พระเกจิคณาจารย์ชื่อดังหลายรูปร่วมอธิษฐานจิต วัตถุมงคลหลวงพ่อบ้านแหลม วัดพเพชรสมุทรวรวิหาร

ชื่อวัด : วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จังหวัดสมุทรสงคราม

พุทธคุณ : เมตตา มหานิยม แคล้วคลาด โชคลาภ ป้องกันเสนียตจัญไร คุณไสย และภูตผีปีศาจได้ เงินทองไหลมามาขาดสาย ช่วยปัดเป่าเรื่องร้ายให้กายเป็นดี จะเกิดความสำเร็จในหน้าที่การงาน เจริญก้าวหน้า

เนื้อวัตถุมงคล : เนื้อโลหะ

ขนาดวัตถุมงคล : 9x9x37 ซม.

น้ำหนักวัตถุมงคล : 1 กก.

 

รายละเอียดโครงการวัตถุมงคล

หลวงพ่อบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร สูงประมาณ 2 เมตร 80 เซนติเมตร หล่อด้วยทองเหลืองปิดทอง 

ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดเพชรสมุทรวรวิหารหรือที่เรียกว่าวัดบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวเมืองแม่กลอง หรือจังหวัดสมุทรสงคราม

ตามตำนานเล่ากัน หลวงพ่อบ้านแหลม มีความสัมพันธ์กับตำนานหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่มีเพิ่มเติมจำนวนพระพุทธรูปจาก 3 องค์ เป็น 5 องค์ 

กล่าวคือ มีเรื่องเล่ากันมาว่า มีพระพุทธรูป 5 องค์ ลอยน้ำมาจากเมืองเหนือ เมื่อมาถึงภาคกลางก็ได้แยกย้านกันไปประดิษฐานอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ รวม 5 จังหวัด

องค์แรก ลอยมาตามแม่น้ำบางปะกงและได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ชื่อว่า หลวงพ่อโสธร

องค์ที่สอง ลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรีและได้ไปประดิษฐานที่วัดไร่ขิง เมืองนครชัยศรี(อำเภอสามพราน) จังหวัดนครปฐม ได้ชื่อว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง

องค์ที่สาม ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาและได้ไปประดิษฐานที่วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้ชื่อว่า หลวงพ่อโต

องค์ที่สี่ ลอยมาตามแม่น้ำแม่กลองและได้ไปประดิษฐานที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เมืองแม่กลอง ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ชื่อว่า หลวงพ่อบ้านแหลม

องค์ที่ห้า ลอยมาตามแม่น้ำเพชรบุรีและได้ไปประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี ได้ชื่อว่า หลวงพ่อเขาตะเครา

หลวงพ่อบ้านแหลม มีตำนานอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวว่า ชาวบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากอยู่ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2307 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวประมง 

วันหนึ่งได้มีชาวประมงไปลากอวนหาปลาที่ปากแม่น้ำแม่กลอง และอวนได้ติดพระพุทธรูปขึ้นมาสององค์องค์หนึ่งเป็น พระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง 

จึงอาราธนาพระพุทธรูปยืนมาประดิษฐานที่ วัดศรีจำปา ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองแม่กลอง ส่วนพระพุทธรูปนั่งได้มอบให้ญาติพี่น้องนำไปประดิษฐานที่ วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี

วัดศรีจำปา นี้ต่อมาได้ชื่อว่าวัดบ้านแหลม ซึ่งต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชั้นวรวิหาร และได้รับพระราชทานนามว่า วัดเพชรสมุทรวรวิหาร 

บาตรแก้วสีน้ำเงินที่เห็นอยู่ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าบรมเธอกรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ได้ถวายไว้เนื่องจากบาตรเดิมอาจจมหายอยู่ในน้ำก่อนที่ชาวประมงจะได้จากทะเลปากอ่าวแม่กลอง

ตามหลักฐานต่างๆกล่าวไว้ชัดเจนว่า ชาวบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากอยู่เนื่องจากหนีกองทัพพม่าที่บุกมาตีเมืองเพชรจึงได้อพยพมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2307 

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวประมง วันหนึ่งได้มีชาวประมงไปลากอวนหาปลาที่ปากแม่น้ำแม่กลอง และอวนได้ติดพระพุทธรูปขึ้นมาสององค์องค์หนึ่งเป็น พระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร 

อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง จึงอาราธนาพระพุทธรูปยืนมาประดิษฐานที่ วัดศรีจำปา ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองแม่กลอง

ส่วนพระพุทธรูปนั่งได้มอบให้ญาติพี่น้องนำไปประดิษฐานที่ วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี 

วัดศรีจำปา นี้ต่อมาไดตั้ง้ชื่อว่าวัดบ้านแหลม ตามกันมา เพราะคนบ้านแหลมเป็นผู้พบเจอ ซึ่งต่อมาในปี2498ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชั้นวรวิหาร 

และได้รับพระราชทานนามว่า วัดเพชรสมุทรวรวิหาร บาตรแก้วสีน้ำเงินที่เห็นอยู่ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าบรมเธอกรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช 

ได้ถวายไว้เนื่องจากบาตรเดิมอาจจมหายอยู่ในน้ำก่อนที่ชาวประมงจะได้จากทะเลปากอ่าวแม่กลอง

ส่วนตำนานพระลอยน้ำ จริงๆแล้ว พระไม่ได้ลอยน้ำนะครับ แต่ลอยมากับแพนั้นน่าจะจริงมากกว่า อาจเพราะเหตุว่า ถ้าพวกพม่ารามัญตีเมื่องแตก 

เขาคงกลัวพวกพม่ารามัญ มันจะเอาไปเผาไปหลอมทำปืนหมดครับ เลยนำพระพุทธรูปลอยน้ำหนีมา

เมื่อคราวอหิวาตกโรคระบาดที่กรุงเทพฯ และหัวเมือง ในปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ นั้น ที่เมืองสมุทรสงคราม ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากจนเงียบเหงาไปทั้งเมือง 

ไม่มีใครอยากออกจากบ้าน ไม่มีใครเผาศพใครด้วยเชื่อกันว่าเป็นโรคผีโรคห่า ครั้งนั้น พระสนิทสมณคุณ (เนตร) เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลม (วัดเพชรสมุทรวรวิหาร) 

ในเวลานั้น ฝันว่า หลวงพ่อบ้านแหลม พระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรในพระอุโบสถ มาบอกคาถาป้องกันอหิวาตกโรคให้บทหนึ่ง 

โดยบอกให้ท่านเจ้าอาวาสไปจดเอาคาถาที่พระหัตถ์ พระสนิทสมณคุณจึงลุกไปปลุกขุนประชานิยม (อ่อง ประชานิยม) ซึ่งขณะนั้นเป็นเด็กวัด 

ให้เข้าไปในพระอุโบสถด้วยกันกลางดึก ท่านได้เอาเทียนส่องดูที่พระหัตถ์ทั้งสองข้างของหลวงพ่อบ้านแหลม เห็นที่พระหัตถ์ขวามีอักขระว่า

"นะ มะ ระ อะ" และที่พระหัตถ์ซ้ายมีอักขระว่า "นะ เท วะ อะ" 

ท่านจึงจดคาถามาทำน้ำพระพุทธมนต์ให้ชาวบ้านเอาไปกินไปอาบ ปรากฏว่าโรคภัยไข้เจ็บก็เงียบสงบตั้งแต่นั้นมา

พระคาถา "นะ มะ ระ อะ นะ เท วะ อะ" นี้ ท่านพระยาราชพงษานุรักษ์ (ชาย บุนนาค) ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม (พ.ศ.๒๔๔๓ -๒๔๖๐) นับถือมาก 

เมื่อถึงวันสงกรานต์ ท่านจะนิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูป มาฉันภัตตาหารที่จวนของท่านแล้วให้พระสงฆ์เขียนพระคาถา "นะ มะ ระ อะ นะ เท วะ อะ" เป็นอักขระขอมปิดไว้ที่ประตูเข้าจวนของท่านทุก ๆ ปี

พระครูสมุทรธรรมธาดา (หลวงพ่อเอิบ มนาโป) เจ้าอาวาส วัดดาวโด่ง สมุทรสงคราม ท่านเคารพนับถือหลวงพ่อบ้านแหลมมาก เหรียญที่ท่านสร้างขึ้น 

จารึกพระคาถา "นะมะระอะ นะเทวะอะ" ไว้ด้านหลัง ร่ำลือกันว่าขลัง 

พระคาถา "นะ มะ ระ อะ นะ เท วะ อะ" ของหลวงพ่อวัดบ้านแหลมนี้ ท่านอาจารย์เทพ สุนทรศารทูล ผู้บันทึกประวัติหลวงพ่อวัดบ้านแหลมและถวายเป็นลิขสิทธิ์ของวัด 

ได้เคยกราบเรียนถามสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิท เขมจารีมหาเถร ป.ธ.๙) วัดปทุมคงคา แต่ท่านก็ไม่อาจจะวินิจฉัยได้ว่าแปลว่าอะไร จึงสันนิษฐานว่า พระคาถาดังกล่าวน่าจะย่อมาจากพุทธพจน์

"นะ มะ ระ อะ" แปลว่า พระอรหันต์ไม่ตาย (นะ คือ ไม่, มะ ระ คือ มรณะ, อะ คือ อรหันต์)

"นะ เท วะ อะ" แปลว่า พระอรหันต์ไม่ใช่เทวดา (นะ คือ ไม่, เท วะ คือ เทวดา, อะ คือ อรหันต์)

คำอาราธนาหลวงพ่อวัดบ้านแหลม

"สะทา วะชิระสะพุททะวะวะ วิหารเร

ปติฏฐิตัง นะระเทโวหิ ปูชิตัง ปัตตะหัตตัง

พุทธรุปัง อะหัง วันทามิ ทูระโต"

คาถาหลวงพ่อวัดบ้านแหลม

"นะมะ ระอะ นะ เท วะ อะ"

 

พิธีพุทธาพิเษก

ณ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.เพชรบุรี

 

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

สมทบทุนบำรุงเสนาสนะ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.เพชรบุรี

 

ดำเนินการจัดสร้างโดย

ณ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.เพชรบุรี

 

หมายเหตุ

1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน

2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น

3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้

ความเห็นของลูกค้า (จากทั้งหมด 0 คน)
ภาพรวมความพึงพอใจ
0
0
0
0
0
ความเห็นของลูกค้าเฉลี่ย
ยอดรวม  ยังไม่มีการประเมิน