เหรียญพระแก้วมรกต ภปร. ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2525 | AllOnline
ช้อป All Online ผ่าน 7App
โปรเด็ด สินค้าโดนใจ ห้างใกล้บ้าน
โหลดฟรี
Special Coupon (4 - 23 Jan 25)

เหรียญพระแก้วมรกต ภปร. ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2525


รหัสสินค้า  434144010
false
false
false
false
true
false

เหรียญพระแก้วมรกต ภปร. ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2525

รหัสสินค้า 434144010

คุ้มกว่า

รับ ALL POINT ทุกการช้อป

  • พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ที่ถูกยกให้มีความสำคัญลำดับแรกเหนือพระพุทธรูปองค์อื่นๆ
  • ชนวนมวลสารพระเกจิคณาจารย์ มวลสารเก่า แผ่นจารย์อักขระยันต์พระเกจิ
  • หาปัจจัยในการก่อสร้างอุโบสถดิน ณ วัดสิงห์ทอง จ.ยโสธร
  • สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย วัดบวรนิเวศวิหาร
฿ 2,500

ใช้ได้ตั้งแต่  20/04/2021 - 18/01/2025
รวมยอดของ
- +
มีสินค้าในสต๊อก
สินค้านี้จำกัดจำนวนในการสั่งซื้อ

การจัดส่ง

จัดส่งฟรีเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน
ฟรี
จัดส่งตามที่อยู่ รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน

สินค้าใกล้เคียง

ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ (ก x ย x ส) 11.2 x 5.3 x 2.3 ซม.
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ 0.03

เหรียญพระแก้วมรกต ภปร. ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2525

พระเกจิ : 1.พระญาณโพธิ์ (เข็ม) วัดสุทัศน์ 2.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน 3.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง 4.หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม 5.หลวงพ่อพุทธ ฐานิโย 6.หลวงพ่อมงคลธรรมสุนทร วัดบางนา 7.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก 8.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ 9.หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ 10.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม 11.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม 12.หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิต 13.หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)ฯลฯ

ชื่อวัด : ให้เช่าบูชาโดย พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย วัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธคุณ : บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล อยู่เย็นเป็นสุข

เนื้อวัตถุมงคล : เนื้อทองแดง

ขนาดวัตถุมงคล : 11.2 x 5.3 x 2.3 ซม.

น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.03 กก.

 

รายละเอียดโครงการวัตถุมงคล

"เหรียญพระแก้วมรกต ภปร ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2525” ลักษณะเหรียญเป็นแบบกลมแบน มีขอบ

ด้านหน้า เป็นรูปพระแก้วมรกต ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีผ้าทิพย์ห้อย ใต้ฐานบัวมีหอยสังข์ ด้านข้างองค์พระมีพานพุ่มทั้งสองด้าน

ด้านหลัง ตรงกลางเป็นตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ขอบรอบเหรียญ เขียนคำว่า “ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ.๒๕๒๕”

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธาน 

ในการนี้ คณะกรรมการฯ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานจัดสร้าง “เหรียญพระแก้วมรกตหลัง ภปร” ขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อเป็นที่ระลึกและสมนาคุณแก่พสกนิกร

ที่ต้องการร่วมบริจาคสมทบทุนโดยเสด็จพระราชกุศลในการบูรณะครั้งนี้ เมื่อการจัดสร้างเหรียญแล้วเสร็จสมบูรณ์ ได้ประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษก

ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2524 ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว โดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเป็นประธาน 

พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระมหาเถระ 10 รูป นั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตในมณฑลพิธีราชวัตรฉัตรธง ประกอบด้วย 

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระญาณสังวร (สุวัฑฒน มหาเถระ) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ, 

พระมงคลราชมุนี (สุพจน์ โชติปาโล) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ, 

พระราชสังวรญาณ (สนิท ถิรสินิทฺโธ) วัดศีลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง, 

หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี, 

หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมงฺกโร วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี, 

พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (หลวงพ่อจ้วน) วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี, 

หลวงพ่อสุด วัดกาหลง อ.เมือง จ.เพชรบุรี, 

พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร, 

พระครูประดิษฐ์นวการ วัดวังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 

และ พระครูญาณวิจักขณ์ (พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ 

 

 

ในเวลาเดียวกันนี้ พระภาวนาจารย์และพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วราชอาณาจักรอีก 90 รูป ได้ร่วมพิธีนั่งปรกเจริญภาวนาแผ่จิตตานุภาพ ณ วัดที่ประจำอยู่ 

ส่งพลังจิตภาวนารวมเป็นหนึ่งเดียวส่งไปยัง “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” มีอาทิ 

หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี, 

หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, 

หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี, 

หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม, 

หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง, 

หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย, 

หลวงพ่อไพบูลย์ วัดรัตนวนาราม (อนาลโย) จ.พะเยา 

หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร, 

หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร, 

หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น, 

หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง, 

หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด, ห

ลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี, 

หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี, 

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, 

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ ฯลฯ 

พร้อมกันนี้ ได้เปิดให้ประชาชนทั่วประเทศสั่งจองผ่านธนาคารพาณิชย์ในวันเดียวกัน ปรากฏว่าเหรียญที่จัดสร้างจำนวน 1,000,000 เหรียญ 

ถูกจองหมดอย่างรวดเร็ว ประชาชนที่พลาดการจอง เหรียญพระแก้วมรกต ภปร. ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2525 

เรียกร้องให้คณะกรรมการดำเนินงานการจัดสร้างเพิ่มเติมอีก คณะกรรมการฯ จึงต้องกราบบังคมทูลขอพระราชทานสร้างชุดที่ 2 ขึ้น 

ทั้งนี้ พระองค์พระราชทานพระราชวินิจฉัย โปรดฯ ให้เพิ่มข้อความ “พระราชศรัทธา” ไว้ใต้ตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร”

เพื่อเป็นการจำแนกระหว่างการสร้าง “ครั้งแรก” กับ “ครั้งที่สอง” และประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2524

“พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” หรือ “พระแก้วมรกต” เป็นพระประธานคู่บ้านคู่เมืองปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์ 

หน้าตักกว้าง 48.3 เซนติเมตร สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร 66 เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 

ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ

 

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอรวบรวมได้ว่า องค์พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในประมาณปี พ.ศ.500 โดยพระนาคเสนเถระ เมืองปาฏลีบุตร อินเดีย 

เข้ามาสู่ดินแดนของไทยครั้งแรกในอาณาจักรอโยธยา จากนั้นอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วเมืองชากังราว หรือกำแพงเพชร จากกำแพงเพชร

ได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วเชียงรายเป็นเวลา 45 ปี จากนั้นก็อัญเชิญลงมาประดิษฐานที่ลำปางอีก 32 ปี จากลำปางอัญเชิญขึ้นเหนือไปประดิษฐาน

ที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ เป็นเวลา 85 ปี จากเชียงใหม่ไปประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทน์ 225 ปี แต่เก่าก่อนตอนปลายสมัยอยุธยา 

เมืองเวียงจันทน์ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยามีศึกหนักกับพม่าจนตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ทางเวียงจันทน์ถือโอกาสแข็งเมืองแยกตัวเป็นอิสระ

จนกระทั่งพระเจ้าตากกอบกู้เอกราชและตั้งราชธานีใหม่ จึงได้ส่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปตีเมืองเวียงจันทน์ให้กลับมาเป็นเมืองขึ้นเหมือนเดิม 

ศึกครั้งนั้นทัพของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับชัยชนะโดยเด็ดขาด ก่อนได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับคืนสู่แผ่นดินไทย ครั้งแรกเมื่ออัญเชิญพระแก้วมรกต

กลับมายังประเทศไทยในสมัยกรุงธนบุรี อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่วิหารน้อยวัดอรุณราชวราราม ประดิษฐานอยู่ที่วัดอรุณฯ เป็นเวลา 5 ปี

เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อชนะศึกเมืองเวียงจันทน์ อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาก็เกิดความยินดี ดั่งว่าพระแก้วมรกตเป็นพระคู่บารมีคู่บ้านคู่เมือง 

ครั้นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ และตั้งเมืองขึ้นใหม่มีชื่อว่ากรุงรัตนโกสินทร์

รวมระยะเวลาที่องค์พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2321 จนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลา 227 ปี

 

พิธีพุทธาพิเษก

เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุ บรรจบครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525 

โดยพระราชพิธีพุทธาภิเษกมีขึ้นในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๔ ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว โดย พระมหาเถระจำนวน ๑๐ รูป ประกอบด้วย 

1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ 

2. พระมงคลราชมุนี (สุพจน์ โชติปาโล) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ 

3. พระราชสังวรญาณ (สนิท ถิรสินิทฺโธ) วัดศิลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง 

4. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 

5. หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมังกโร วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 

6. พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (หลวงพ่อจ้วน) วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 

7. หลวงพ่อสุด วัดกาหลง อ.เมือง จ.เพชรบุรี 

8. พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 

9. พระครูประดิษฐ์นวการ วัดวังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 

10. พระครูญาณวิจักขณ์ (พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ เข้า นั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตในมณฑลพิธีราชวัตรฉัตรธง ประกอบพิธีพุทธาภิเษก

 

วัดบวร5

 

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

หาปัจจัยในการก่อสร้างอุโบสถดิน ณ วัดสิงห์ทอง จ.ยโสธร

 

ดำเนินการจัดสร้างโดย

ให้เช่าบูชาโดย พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย วัดบวรนิเวศวิหาร

 

หมายเหตุ

1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน

2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น

3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้

ความเห็นของลูกค้า (จากทั้งหมด 0 คน)
ภาพรวมความพึงพอใจ
0
0
0
0
0
ความเห็นของลูกค้าเฉลี่ย
ยอดรวม  ยังไม่มีการประเมิน