เหรียญเสมาหลวงปู่เอี่ยม ยันต์สี่ ทองแดงผิวไฟ ปี39 | AllOnline
ช้อป All Online ผ่าน 7App
โปรเด็ด สินค้าโดนใจ ห้างใกล้บ้าน
โหลดฟรี
Special Coupon (24 Jan - 23 Feb 25)

เหรียญเสมาหลวงปู่เอี่ยม ยันต์สี่ ทองแดงผิวไฟ ปี39


รหัสสินค้า  707513010
false
false
false
false
true
true

เหรียญเสมาหลวงปู่เอี่ยม ยันต์สี่ ทองแดงผิวไฟ ปี39

รหัสสินค้า 707513010

คุ้มกว่า

รับ ALL POINT ทุกการช้อป

  • เมตตา โชคลาภ แคล้วคลาดปลอดภัย
  • แท่งชนวนเก่า หลวงปู่เอี่ยม และแผ่นจารพระเกจิ
  • เพื่อบูรณะเสนาสนะภายในพระอาราม
  • อธิษฐานจิต โดยพระเกจิคณาจารย์ ที่มีชื่อเสียง ร่วมนั่งปรก
฿ 400

ใช้ได้ตั้งแต่  14/02/2025 - 21/02/2025
รวมยอดของ
- +
มีสินค้าในสต๊อก
สินค้านี้จำกัดจำนวนในการสั่งซื้อ

การจัดส่ง

จัดส่งฟรีเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน
ฟรี
จัดส่งตามที่อยู่ รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน

สินค้าใกล้เคียง

ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ (กxยxส) 3.5x5x2 ซม.
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ 0.05 กก.

เหรียญเสมาหลวงปู่เอี่ยม ยันต์สี่ ทองแดงผิวไฟ ปี39

พระเกจิ : อธิษฐานจิต โดยพระเกจิคณาจารย์ ที่มีชื่อเสียง ร่วมนั่งปรก

ชื่อวัด : วัดหนัง ราชวรวิหาร จ.กรุงเทพ

พุทธคุณ : เมตตา โชคลาภ แคล้วคลาดปลอดภัย

เนื้อวัตถุมงคล : ทองแดงผิวไฟ

ขนาดวัตถุมงคล : 2x3.5x0.02 ซม.

น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.03 กก.

 

รายละเอียดโครงการวัตถุมงคล

“เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง” ราชาแห่งวัตถุมงคลประเภทเหรียญ ค่านิยมเทียบชั้นพระสมเด็จวัดระฆังฯทั้งด้านความสวยงามของเนื้อหาพิมพ์ทรง

องค์พระ พุทธคุณและสนนราคา บางครั้งพกเงินมาหาซื้อเป็นล้าน ยังได้รับประทานแห้ว “พระภาวนาโกศล”หรือ “หลวงปู่เอี่ยม ” วัดหนังราชวรวิหาร

กรุงเทพมหานคร ลูกศิษย์ลูกหามักนิยมเรียกท่านว่า “เจ้าคุณเฒ่า วัดหนัง” เป็นชาวบางขุนเทียนโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2375

อายุ 9 ขวบ ท่านได้เข้าศึกษาที่สำนักพระอาจารย์รอด วัดหนัง บรรพชาเป็นสามเณรแล้วมาเรียนพระปริยัติธรรมประจำอยู่ที่วัดหนัง 

จากนั้นก็อุปสมบทที่วัดราชโอรสาราม โดยมี พระธรรมเทพเถระ (เกิด) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมเจดีย์ (จีน) พระภาวนาโกศล (รอด)

เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “สุวัณณสโร” เมื่อบวชแล้วท่านเคร่งและศึกษาด้านปริยัติธรรมมาก ในระยะสั้นๆท่านก็ย้ายไปอยู่ที่วัดนางนอง

โดยได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับ “หลวงปู่รอด วัดหนัง” ซึ่งกำลังเลื่องชื่อมากในด้านวิทยาอาคมขลัง ท่านได้หันมาสนใจในด้านไสยเวท

เป็นศิษย์เอกที่พระอาจารย์รักมาก ต่อมาในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) “"หลวงปู่รอด” ได้ถูกถอดจากสมณศักดิ์เดิม

ให้เป็นพระสงฆ์ธรรมดาๆ หลวงปู่รอดจึงได้ย้ายไปอยู่ที่วัดโคนอน โดยมีหลวงปู่เอี่ยมตามไปรับใช้อยู่ที่วัดโคนอนด้วย ไม่นานนักหลวงปู่รอดได้ถึงแก่มรณภาพ 

หลวงปู่เอี่ยมก็ได้ครองตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองวัดโคนอนสืบแทน พอถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าให้ “หลวงปู่เอี่ยม” ไปปกครองวัดหนัง

โดยท่านได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้วัดแห่งนี้อย่างมาก จวบจนละสังขาร เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2469 สิริอายุ 94 ปี 72 พรรษา

 

เหรียญเสมาหลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง

 

วัตถุมงคลของหลวงปู่เอี่ยม ได้รับความนิยมจากนักสะสมอย่างมาก โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรกปัจจุบันเล่นหากันในราคาสูงมาก

พุทธคุณว่ากันว่าดีครบทั้งทางด้านเมตตาหมานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรีเป็นยอด กรรมวิธีการทำ

เป็นเหรียญปั๊มเสมารูปเหมือนหลวงปู่เอี่ยมนั่งเต็มองค์ บนอาสนะโต๊ะขาสิงห์ชั้นเดียว เรือนกรอบของเสมา เป็นลวดลายประคำ และลายหูช้าง

ขอบบนเป็นลอน ปลายสุดเบื้องล่างเป็นลายดอก สามารถจำแนกพิมพ์ทรงตามลักษณะของยันต์ด้านหลังเหรียญได้ 2 พิมพ์ 

พิมพ์แรกวงการพระนิยมเรียกว่า “เหรียญยันต์สี่” นับว่าเป็นรุ่นแรก สร้างเมื่อปี 2467 แจกสมนาคุณให้แก่ผู้บริจาคเงินสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่เอี่ยมนั่งสมาธิเต็มองค์ ด้านหลังเป็นรูปยันต์สี่ รุ่นนี้มีบล็อกหลัง 2 บล็อก คือหลัง 3 จุด และหลัง 4 จุด ปัจจุบันหายา

มีการทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างเหมือน จุดสังเกตความคมชัดของตัวหนังสือและอักขระยันต์ จุดสำคัญเป็นเหรียญปั๊มข้างเลื่อยทุกเหรียญ

ส่วน “เหรียญยันต์ห้า” ของหลวงปู่เอี่ยม ยังมีข้อถกเถียงกันว่าสร้างทันหลวงปู่เอี่ยมหรือไม่ เพราะเหรียญนี้ระบุสร้างปี 2469 ซึ่งเป็นปีที่หลวงปู่เอี่ยมมรณภาพ

เรื่องนี้นายถม ทองอู๋ หลานท่านเล่าว่า พระครูคำและพระปลัดแจ้ง ขออนุญาตสร้างเหรียญหลวงปู่เอี่ยมไว้เป็นอนุสรณ์ชิ้นสุดท้าย

เมื่อได้ฟังท่านนิ่งเฉยอยู่พักใหญ่ แล้วบอกว่า “ตามใจเถอะ” พระปลัดแจ้งจึงติดต่อกับนายเนียม ช่างทองเจ้าเดิม ให้ลงมือทำประมาณ 1,000 เหรียญ

เมื่อช่างทำเสร็จเรียบร้อย พระปลัดแจ้งก็นำไปให้ท่านปลุกเสก ท่านหยิบดูแล้วถามว่า “นี่ยันต์อะไร” คำตอบที่ได้ “เป็นยันต์พระปถมังแบบยันต์ห้า

ท่านบอกว่า “ดีแล้ว” จากนั้นจึงหยิบขึ้นแล้วโปรยไปในพานตามเดิม ทำอย่างนี้ทุกๆพาน เหรียญยันต์ห้าจึงเป็นที่นิยม นอกจากนี้ยังมีเหรียญรุ่นพิเศษ

แบบดุนองค์รูปเหมือน และฉลุร่องลายกระหนก ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าสร้างปี 2467 หรือ ปี 2469 เพราะด้านหน้าคล้ายกับเหรียญรุ่นสองหลังยันต์ห้า

แต่ด้านหลังเป็นบล็อกยันต์สี่พิมพ์ 3 จุด “เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง” ปัจจุบันมีความนิยมในหมู่นักสะสมสูงมาก ของปลอมทำได้ใกล้เคียงของแท้

แต่แพ้ที่ความคมชัด และจุดตายบางจุด เน้นสังเกตการตัดของขอบเหรียญลักษณะคล้ายรอยเลื่อย หลวงปู่เอี่ยมดังทางด้านไหน หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม

เป็นพระผู้มีอภิญญาด้านกรรมฐานและวิชาคม เป็นผู้แต่งคาถาโสฬสมงคล เป็นพระเกจิย์ที่มีชื่อเสียง ผู้มาไหว้นิยมบนบานและอก้บนด้วยดอกไม้กระทง 7 สี

ซึ่งจะมีกระทงดอกไม้จำหน่ายแก้บนเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์

 

คาถาหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย

กล่าวนะโม 3 จบ

อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิอิโสตัง พุทธะปิติอิ สาธุ

"คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย" หรือ คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพฯ ถวายล้นเกล้า ร.๕ ก่อนเสด็จประพาสยุโรป

จนกลายเป็นตำนานเล่าขานที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งคำทำนายของหลวงปู่เอี่ยม ซึ่งแม่นยำมาก จนเป็นกล่าวขานจากรุ่นสู่รุ่น

เมื่อล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕ เข้านมัสการเพื่อขอให้ท่านปลัดได้ช่วยตรวจดูเหตุการณ์ว่า การที่รูปจะเสด็จไปยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักในยุโรปนั้น

จักเป็นอย่างไรบ้าง ด้วยหนทางไกลและอันตรายมีอยู่รอบด้าน"

 

พิธีพุทธาภิเษก

- พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดหนัง ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2539

จัดสร้างโดยเจ้าคุณสุกรี สุตาคโม (พระธรรมศีลาจารย์) สมัยมีสมณศักดิ์ที่พระเทพวรมุนี วัดหนังราชวรวิหาร แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กทม.

มีพระคณาจารย์ร่วมอธิษฐานจิตและจารอักขระแผ่นโลหะธาตุ ประกอบด้วย

๑.หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ

๒.หลวงพ่อทองดี วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ

๓.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี

๔.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี

๕.หลวงพ่อสุกรี วัดหนัง กรุงเทพ

๖.หลวงพ่อสำราญ วัดนางนอง กรุงเทพ

๗.หลวงพ่อห้อม วัดคูหาสวรรค์ สุโขทัย

๘.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา

๙.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม 

๑๐.พระเทพสิทธาจารย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่

๑๑.พระสิทธิญาณมุนี วัดคลองโพธิ์ อุตรดิตถ์

๑๒.หลวงพ่อทองดำ วัดท่าทอง อุตรดิตถ์

๑๓.พระวิสิฐนิมมานการ วัดไชโยวรวิหาร อ่างทอง

๑๔.หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย นครพนม

๑๕.หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง

๑๖.หลวงปู่สี วัดเอี่ยมวนาราม อุบลราชธานี

๑๗.หลวงพ่อช้วน วัดหนัง กรุงเทพฯ

๑๘.หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม

๑๙.หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม

๒๐.หลวงพ่อประเทือง วัดหนองย่างทอย เพชรบูรณ์

๒๑.หลวงพ่อนิตย์ วัดหนัง กรุงเทพฯ

 

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

- เพื่อบูรณะเสนาสนะภายในพระอาราม

 

ดำเนินการจัดสร้างโดย

- วัดหนัง ราชวรวิหาร จ.กรุงเทพฯ

 

หมายเหตุ

1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน

2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น

3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้

 

ความเห็นของลูกค้า (จากทั้งหมด 0 คน)
ภาพรวมความพึงพอใจ
0
0
0
0
0
ความเห็นของลูกค้าเฉลี่ย
ยอดรวม  ยังไม่มีการประเมิน